วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

งอบใบจาก น้ำเชี่ยว




งอบใบจาก
งอบใบจาก

งอบใบจาก



งอบ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง เครื่องสวมหัวสำหรับกันแดดและฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ กรุด้านในใบลาน รูปคล้ายกระจาดคว่ำ มีรังสำหรับสวม
งอบใบจาก
งอบใบจาก เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดมากว่าร้อยปี นิยมทำกันตาม ชนบทแทบทุกหมู่บ้าน จุดมุ่งหมายเดิม คนในท้องถิ่นจะทำไว้ใช้กันแดด กันฝน ใช้ในครอบครัว โดยเฉพาะชาวนา ชาวสวน ต่อมาได้กลายเป็นอาชีพของบางหมู่บ้าน เป็นงานหัตถกรรมของสมาชิกในบ้านที่ว่างงาน เพื่อนำออกจำหน่ายให้แก่คนท้องถิ่น ในจังหวัดตราด และนักท่องเที่ยว
ปัจจุบันหมู่บ้านที่ได้รับการส่งเสริมการทำงอบเป็นอาชีพพื้นบ้าน คือ หมู่บ้านน้ำเชี่ยว ตำบลน้ำเชี่ยว ภำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ทำได้หลายรูปแบบตามชื่อ เช่น ทรงปลาดาว ทรงเห็ด ทรงนเรศวร ทรงกะทะ ฯลฯ
งอบใบจาก
วัสดุที่ใช้
1. ใบจากขนาดใบพองามไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
2. เชือก ขนาดพอเหมาะที่ใช้สำหรับทำขอบ
3. เข็ม ขนาดพอสมควร
4. ตอกไม้ไผ่เหลาเป็นเส้นเล็ก ๆ ทำเป็นขอบหมวก
5. ด้าย ขนาดพอเหมาะกับเข็ม
งอบใบจาก
วิธีการทำงอบใบจาก ใช้ใบจากประมาณ 25-30 ใบ มาเรียงซ้อนกัน เย็บตรงกลาง แล้วหันให้เป็นวงกลมใช้เชือกมัดไว้ตรงกลาง เย็บเป็นวงกลม โดยมีเชือกตรงกลาง เป็นศูนย์กลาง เมื่อเย็บจนครบตามที่ต้องการแล้ว ก็ตัดเป็นรูปทรงที่ต้องการ และเข้าขอบ เพื่อให้งอบแข็งแรง โดยใช้ไม้ไผ่เส้นเล็ก ๆ หลายเส้นมาประกบที่ขอบหมวกทั้งด้าน นอกและด้านใน และใช้เชือกเย็บมัดให้แน่นนำหมวกที่ทำเสร็จแล้วไปตากแดดให้แห้ง นำมาทาด้วยน้ำมันยาง น้ำมันสน หรือแซลแลตตามความต้องการ เวลาจะใช้นำเอารัง (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เสวียน) ซึ่งสานเป็นรูปทรงกลมยาวขนาดศีรษะ ใส่ด้านใน ใช้ไม้ไผ่เหลาให้เรียบร้อย ขัดกับตัวงอบกันหลุด
การประยุกต์ใช้ ปัจจุบันจังหวัดตราดเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย จึงมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก ผู้สวมหมวกใบจากจึงพัฒนารูปแบบทรงหลาย ๆ รูปทรง มีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ตามความต้องการของตลาด และได้นำมาประยุกต์ใช้ คุมกันแดด ของนักท่องเที่ยว ใช้ประกอบการแสดง ใช้ตกแต่งบ้านและสถานที่ต่าง ๆ ให้เป็นของที่ระลึกสำหรับเพื่อนฝูง











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น