วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

น้ำเชี่ยวบ้านเรา

น้ำเชี่ยวบ้านเรา

 

ประวัติความเป็นมา 

     กลุ่มชาวไทยมุสลิม  ครั้งแรกมาอยู่ที่ตำบลน้ำเชี่ยวแห่งเดียว ตามที่ พระบริหารเทพธานีสันนิษฐานไว้ว่า “ชนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสงครามกับญวนในประเทศเขมร ตรงกับรัชกาลที่ 3 มีการเรียนภาษาเขียนที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการสร้างสุเหร่าหรือมัสยิดครั้งแรกที่บ้านน้ำเชี่ยว โดยใช้ ไม้โกงกางมาปักเป็นเขต 4 ต้น หลังคามุงด้วยใบปรง นำมาสานเป็นตับเหมือนตับจากมุงกันแดด กันฝน ต่อมาเมื่อชาวมุสลิมตั้งหลักแหล่งแน่นอนแล้ว ได้ต่อเติมสุเหร่าให้มีสภาพดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน โดยมิได้เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งเดิมแต่อย่างใด” ซึ่งสุเหร่าแห่งนี้ ปัจจุบันมีชื่อว่า “มัสยิดอัลกุบรอ” ตั้งอยู่ริม คลองน้ำเชี่ยว
                                  
เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด
เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร    มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้   ซึ่งพี่น้องทั้งสองศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา
ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมงพื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบัน
ชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย ปัจจุบันมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,368 คน 1,199 ครัวเรือน


 ลักษณะทั่วไป และระบบนิเวศ 

ลักษณะภูมิประเทศ
บ้านน้ำเชี่ยว มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลอง
ขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิดอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด
ทิศเหนือ ติดกับ อบต.หนองโสน อ.เมืองตราด
ทิศใต้ ติดกับ อ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.หนองโสน อ.เมืองตราด
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.คลองใหญ่ และ อบต.แหลมงอบ
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ช่วงฤดูฝนยาวนาน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ฝนแปด แดดสี่

 วัฒนธรรมประเพณี 
1. การแข่งขันเรือพาย เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ในอดีตจะใช้ถังข้าวหมกไก่แทนเรือ ซึ่งจะทำการแข่งขันทุกปีหลังวันเห็นเดือนของชาวมุสลิม ซึ่งจะเป็นช่วงที่น้ำขึ้นเต็มฝั่ง  จัดขึ้นที่คลองน้ำเชี่ยว โดยมีเอกลักษณ์ คือ การพายเรือด้วยลำไม้ไผ่ โดยทีมใดพายเรือไปหยิบธงที่ปักอยู่ที่เส้นชัยได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ การแข่งขันเรือพายจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของคนภายในหมู่บ้าน และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างหมู่บ้าน/ชุมชนข้างเคียง
2. การแข่งขันตกปลาประจำปี เทศกาลเปิดฤดูตกปลาทะเลตราด จัดขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี โดยความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคกลาง เขต 5 ตราด และชมรมเรือท่องเที่ยวตำบลน้ำเชี่ยว เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล และส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่เกาะช้างของจังหวัดตราด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำเชี่ยวบ้านเรา

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ป่าชายเลนอันแสนงดงาม

ป่าชายเลนอันแสนงดงาม



จุดเด่น
ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ลึกลับซับซ้อน ก่อให้เกิดการค้นหาและความเชื่อต่างๆ มากมาย หาดทรายดำอีกความอัศจรรย์ของธรรมชาติของไทยที่ได้ผลิตเม็ดทรายละเอียดสีดำขึ้นมาเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็น 1 ใน 5 แห่งในโลก ความลึกลับซับซ้อนของเรื่องนี้ถูกศึกษาและถกเถียงกันมากมาย แต่กับผู้ที่ไม่รู้เรื่องนี้กับคิดว่าเป็นสิ่งที่ให้โชคลาภและรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ เรื่องราวของสถานที่แห่งนี้เกิดขึ้นมากมาย จนถึงปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ก็ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

กิจกรรมที่น่าสนใจ
1. พบกับความมหัศจรรย์ธรรมชาติกับหาดทรายสีดำ
2. ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลยทั้งพรรณไม้และสัตว์ในป่าชายเลน เช่น โกงกาง ลำแพน ลำพูน ลิงแสม ปูแสม หอยต่าง  ๆ   เป็นต้น ซึ่งที่นี่จะมีสะพานไม้ที่ถูกสร้างไว้อย่างสวยงามไว้สำหรับรองรับนักท่องเที่ยว
4. ชมชีวิตของนกในป่าชายเลนกับหอดูนกของที่นี่
5. ชมวิถีชีวิตของชาวประมงที่ใช้ชีวิตควบคู่กับป่าชายเลน

คำแนะนำ
หากต้องการเที่ยวเพื่อการศึกษาธรรมชาติที่นี่เหมาะสมกับการศึกษาธรรมชาติอย่างมากเพราะเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก แต่หากต้องการสัมผัสธรรมชาติและความมหัศจรรย์ของเม็ดสีทรายสีดำแล้วอาจจะใช้เวลาไม่นานในการชมดังนั้นสถานที่แห่งอาจจะเป็นสถานที่ 1 ในทริปการเดินทางของคุณที่อยู่รวมกับอีกหลาย ๆ สถานที่น่าจะเหมาะสมที่สุด

ช่วงเวลาในการท่องเที่ยว
เที่ยวได้ตลอดปี


วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

ทั่วเที่ยวไทย


 อ่าวคุ้งกระเบน
                โดย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งอยู่บริเวณ อ่าวคุ้งกระเบน มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมดประมาณ 4,000 ไร่ หากบริเวณป่าชายเลนริมชายฝั่งทะเลที่จะพาไปชมในวันนี้ มีพื้นที่ราวๆ 200 ไร่ เป็นไปตามพระราชประสงค์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทำการฟื้นฟูและจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน ทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการอบรมเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย นำมาพัฒนาด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงยังเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมพร้อมๆ ไปกับการรักษาสมดุลของระบบนิเวศให้มีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำประมงชายฝั่ง ก็พลอยจะมีแหล่งอาหารและรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น และผลประโยชน์ต่อไปที่จะตามมาก็คือการสามารถส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อีกเช่นกัน
ทั้งนี้ พื้นที่โดยรอบของป่าชายเลน นักท่องเที่ยวสามารถใช้ สะพานเดินศึกษาธรรมชาติและป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน ในการเที่ยวชมตามจุดต่างๆ พร้อมกับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนที่ติดอยู่ตรงศาลาเล็กๆ ให้ได้ทราบอยู่เป็นระยะ เริ่มต้นเส้นทางกันบริเวณ ศาลาที่ 1 กำเนิดอ่าวคุ้งกระเบน จุดนี้จะอธิบายลักษณะการกำเนิดอ่าวคุ้งกระเบน และป่าชายเลน ตามทฤษฎีธรณีสัณฐาน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร เพื่อนำสิ่งที่ได้มาใช้ประกอบการเที่ยวชมยังจุดอื่นๆ ต่อไป เมื่อเดินผ่านจากจุดแรกมาแล้ว ตลอดสองข้างทางนั้นร่มรื่น เต็มไปด้วยต้นไม้นานาพรรณที่ขึ้นอย่างหนาแน่น และต้นไม้บางต้นจะมีป้ายชื่อวงศ์ติดกำกับเอาไว้ พร้อมกันนั้นเมื่อเดินต่อไปเรื่อยๆ ก็จะพบศาลาย่อยถัดๆ ไป ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ต่างๆ ทั้งต้นแสม ลำพู โกงกาง ว่ามีความพิเศษ หรือมีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง เรียกว่า นอกจากจะได้ความเพลิดเพลินแล้ว ก็ยังจะได้ความรู้กลับบ้านไปอีกด้วย




ขนมจาก ขนมทั่วไทย

ขนมจาก ขนมทั่วไทย 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมจาก

ขนมไทย..ขนมจาก
ส่วนผสม ขนมจาก
  • แป้งข้าวเหนียวดำ 1/2 กิโลกรัม
  • แป้งข้าวเจ้า 1/4 กิโลกรัม
  • น้ำตาลปี๊บ 1/2 กิโลกรัม
  • น้ำตาลทราย 3/4 กิโลกรัม
  • มะพร้าวขูดด้วยกระต่าย 2ผล
  • เกลือ 1 ช้อนชา
  • ใบต้นจากตัดเป็นท่อนยาว 10-12 นิ้ว และไม้กลัด
วิธีทำ ขนมจาก
  1. แป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวเจ้า ใส่น้ำตาลทรายและน้ำตาลปี๊บ เคล้าให้ทั่ว เติมน้ำมะพร้าว เกลือ เคล้าให้ทั่วอีกครั้ง
  2. ตักใส่ในทางตามยาวด้านในของใบจาก และใช้อีกใบปิด กลัดด้วยไม้กลัดหัว ท้าย กลาง แล้วนำไปปิ้งอย่าใช้ไฟร้อนจัด จะไหม้ใบจากเสียก่อน

ขนมไข่นกกะทา


ขนมไข่เต่า
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมไข่เต่าประวัติ
   ขนมไทยนั้นเกิดมีมานานแล้วตั้งแต่ประเทศไทยยังเป็นสยามประเทศ ซึ่งสมัยนั้นได้ติดต่อ ค้าขายกับต่างชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนติดต่อกันทั้งทางด้านสินค้าและวัฒนธรรม ขนมไทยในยุคแรกๆ เป็นเพียงนำข้าวไปตำหรือโม่ให้ได้แป้ง และนำไปผสมกับน้ำตาล หรือมะพร้าว เพื่อทำเป็นขนม แต่หลังจากการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ วัฒนธรรมด้านอาหารของต่างชาติก็เข้ามามีอิทธิพลกับอาหารไทยมากขึ้น ขนมก็ด้วยเช่นกันขนมไทย จึงมีความหลากหลายมากขึ้น จนปัจจุบันยังยากที่จะแยกออกว่า ขนมใดคือขนมไทยแท
 ยุคที่ขนมไทยมีความหลากหลายและเฟื่องฟูที่สุดคือ ช่วงที่สตรีชาวโปรตุเกส “มารี กีมาร์ เดอปิน่า ” ได้สมรสกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ จนได้รับการแต่งตั้งเป็น ท้ายผู้หญิงวิชาเยนทร์ ต่อมาได้บรรดาศักดิ์ เป็น ” ท้าวทองกีบม้า “
     โดยรับราชการในพระราชวัง ตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” สันนิษฐานว่าชื่อตำแหน่ง ทองกีบม้า น่าจะเพี้ยนมาจากชื่อ “ตองกีมาร์” นั้นเอง
     ระหว่างที่รับราชการอยู่นั้น ท้าวทองกีบม้าได้สอนการทำขนมหวานตำรับของชาวโปรตุเกส แก่บ่าวไพร่ ขนมเหล่านั้นได้แก่ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง สังขยา หม้อแกง ฯลฯ ซึ่งมีไข่เป็นส่วนผสมสำคัญ ต่อมามีการเผยแพร่สอนต่อกันมา จนขนมของท้าวทองกีบม้า เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงมีคนยกย่องท้าวทองกีบม้าให้เป็น “ราชินีขนมไทย
คนไทยในสมัยโบราณยังไม่รู้จักคำว่า “ขนม” ซึ่งเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าว แต่เป็นของกินหลังอาหาร หรือกินเล่น มีรสชาติหวานมัน อร่อยถูกปาก เพราะปรุงจาก แป้ง ไข่ กะทิ และน้ำตาล
            เชื่อกันว่าผู้ประดิษฐ์คิดขนมไทยออกมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยม กันอย่างกว้างขวางสืบต่อมาจนทุกวันนี้มีชื่อว่า “ท้าวทองกีบม้า” ท้าวทองกีบม้ามีชื่อเต็มว่า “มารี กีมาร์ เด ปนา”
มารีกีมาร์แต่งงานกับ คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีก ที่เข้ามารับราชการ ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทำงานดีจนเป็นที่โปรดปราน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกพระฤทธิ์กำแหง ตำแหน่งนี้ทำให้ ฟอลคอนร่ำรวยขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ท้าวทองกีบม้าจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายหรูหรา
            แต่ด้วยความคิดมิชอบฟอลคอลที่ติดต่อกับฝรั่งเศสเป็นการลับให้ยึดสยามเป็นอาณานิคม จึงถูกจับในข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และ ถูกประหารชีวิต มารีต้องถูกคุมขังเป็นเวลานานถึง ๒ปี  แต่หลังการปลดปล่อยเธอได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวังทำให้ท้าวทองกีบม้าต้องประดิษฐ์คิดค้นขนมประเภทต่างๆ ขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา จากตำรับเดิมของชาติต่างๆ โดยเฉพาะโปรตุเกส ซึ่งเป็น ชาติกำเนิดของเธอ ท้าวทองกีบม้าได้พัฒนาโดยนำเอาวัสดุดิบพื้นถิ่นที่มีในประเทศสยามเข้ามาผสมผสาน จนทำให้เกิดขนมที่มีรสชาติอร่อยถูกปากขึ้นมามากมาย เมื่อจัดส่งเข้าไปในพระราชวังก็ได้รับความชื่นชมมาก ถึงขนาดถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น มีหน้าที่ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวงเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้เสวย  ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ยกย่องชื่นชม มีเงินคืนท้องพระคลังปีละมากๆ ด้วยนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีเมตตา ทำให้ท้าวทองกีบม้าถ่ายทอดตำรับการปรุงขนมหวานแบบต่างๆ ให้แก่สตรีที่ทำงานใต้บังคับบัญชาของเธอจนเกิดความชำนาญ และสตรีเหล่านี้เมื่อกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ญาติพี่น้องยังบ้านเกิดของตนก็ได้นำตำรับขนมหวานไปเผยแพร่ต่ออีกทอดหนึ่ง จึงทำให้ตำรับขนมหวานที่เคยอยู่ในพระราชวังแผ่ขยายออกสู่ชนบทมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดก็กลายเป็น ขนมพื้นบ้านของไทย
สมัยสุโขทัย
ขนมไทยมีที่มาคู่กับชนชาติไทย จากประวัติศาสตร์ที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศคือ จีนและอินเดียในสมัยสุโขทัย มีส่วนช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านอาหาร การกินร่วมไปด้วย
สมัยอยุธยา
เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า”
“มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า”เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ “ฟานิก (Phanick)” เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ “อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)” ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่นานนัก
ชีวิตช่วงหนึ่งของ “ท้าวทองกีบม้า” ได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลอง
พระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทอง พระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้
ถึงแม้ว่า “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า” จะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิด ให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ “ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย”
ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด ตลอดจนลักษณะที่ กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ
ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวางไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่าง ๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย ๆ จนทำให้คนรุ่นหลัง ๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่มักเป็น “ของเทศ” เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์
ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ งานสิริมงคล
ต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
“เข้าหนม” “ข้าวหนม” ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า “ขนม” ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลายท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก “ข้าวนม” ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมาว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุดในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก
สำหรับ “เข้าหนม” นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า “หนม” เพี้ยนมาจาก “เข้าหนม” เนื่องจาก “หนม” นั้นแปลว่าหวาน แต่หกลับไม่ปรากฎความหมายของ“ขนม” ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า “ข้าวหนม” แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า“หนม” ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า “ขนม” อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า “หนม” ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “ขนม” เพี้ยนมาจาก “ขนม” ในภาษาเขมรก็เป็นได้
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วยฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทย ชนิดหนึ่งไว้
ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฎข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง “ย่านป่าขนม” หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง “บ้านหม้อ” ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง
จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวโปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผุ้เป็นต้นเครื่องขนมหรือของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ
ขนมไทยแท้ๆ นั้น จากการศึกษาพบว่า ส่วนประกอบหลักของขนมไทยมักหนีไม่พ้นของสามสิ่ง คือ แป้ง น้ำตาล และ มะพร้าว นำมาคลุกเคล้าผสมผสาน ดัดแปลงตามสัดส่วนที่เหมาะสมด้วยวิธีต่างๆ เช่น นึ่ง ต้ม
ทอด จี่ ผิง ก็จะได้ขนมไทยมากมายหลายชนิด
คนไทยสมัยโบราณไม่ได้กินขนมทุกวัน หากแต่จะได้กินก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยที่มักพบกันบ่อยที่กินกับน้ำกะทิ และทำเลี้ยงแขกเสมอ คือ ขนมสี่ถ้วย ซึ่งหมายถึง ไข่กบ (เม็ดแมงลัก) นกปล่อย (ลอดช่อง) มะลิลอย (บัวลอย) และอ้ายตื้อ (ข้าวเหนียวน้ำวุ้น) ส่วนขนมอื่นๆ มักใช้ในงานมงคลต่างๆ เช่น ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมกง ขนมสาม
เกลอ ขนมปุยฝ้าย เป็นต้น ฯลฯ
ในงาน “นิทรรศการขนมนานาชาติ” ซึ่งจัดโดยภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2541 ได้จำแนกกลุ่มขนมหวานของไทยที่ได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมโปรตุเกส คือ ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอด บ้าบิ่น ลูกชุบ ขนมผิง ทองม้วน ขนมหม้อแกง ขนมไข่กระหรี่ปั๊บ
มีหลักฐานพบว่า ในโปรตุเกส ขนมที่ชื่อ ตรูซูช ดาช กัลดัช (Trouxos das caldas) คือ ต้นตำรับของขนม ทองหยิบ และขนม Fios de Ovos คือ ขนมฝอยทอง ส่วนขนม เกลชาดาซ เดอ กรูอิงบรา (Queijadas de Coimbra) เป็นต้นตำรับ ขนมบ้าบิ่น ของไทย ซึ่งใช้เนยแข็ง แต่ในบ้านเราใช้มะพร้าวแทน
สำหรับ ลูกชุบ เป็นขนมประจำถิ่นโปรตุเกส แพร่หลายมาถึงย่านเมดิเตอร์เรเนียนแถบฝรั่งเศสตอนใต้ เพราะอยู่ใกล้บ้าน เช่น เมืองนีซ เมืองคานส์ ก็มีขนมลูกชุบมากมายทั้งเมือง ลูกชุบในภาษาโปรตุเกส เรียกว่า Massapa’es เป็นขนมประจำถิ่นของ แคว้นอัลการ์วิ (Aigaeve) โดยโปรตุเกสใช้เม็ด อัลมอนด์ เป็นส่วนผสมสำคัญ แต่บ้านเราไม่มี จึงต้องคิดด้วยการใช้ ถั่วเขียว แทน เนื่องจากขนมโปรตุเกสจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ความชำนาญพิเศษ จึงจะได้ขนมหวานที่รสชาติดีออกมาสีสันสวยงาม
ดังนั้น แม้ทุกวันนี้ ขนมฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ยังเป็นขนมยอดฝีมือที่ผู้ทำต้องมีความชำนาญ และได้รับการยกย่อง หากทำขนมประเภทนี้ได้รสชาติดี สวยงาม ประณีต
ในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บาทหลวงฝรั่งเศส เดอโลลีเยร์ บันทึกรายงานถึงระดับความมีหน้ามีตา และรสนิยมการบริโภคขนมหวานของชาวโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา กระทั่งราชสำนักสยามถึงกับต้องเกณฑ์ขนมหวานจาก หมู่บ้านโปรตุเกส เข้าไปในพระราชวัง เนื่องในโอกาสนักขัตฤกษ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังความตอนหนึ่งว่า
“พวกเข้ารีตบางครัว ต้องถูกเกณฑ์ให้ทำของหวานแก่พระเจ้าแผ่นดิน ในวันนักขัตฤกษ์ ในวันชนิดนี้พระเจ้ากรุงสยามก็มีรับสั่งให้พวกเข้ารีตนี้ ทำของหวานเป็นอันมาก อ้างว่าสำหรับงานนี้งานนั้น เป็นต้นว่า สำหรับพิธีล้างศีรษะช้าง ซึ่งถือว่าเป็นพระองค์หนึ่ง หรือสำนักงานไหว้พระพุทธบาทดังนี้”
อาจด้วยเป็นพระราชประสงค์ที่มีรับสั่งตรงมาจากราชสำนักสยาม ทำให้ มาดามดอนญา มาเรีย กิอูมาร์ เดอ ปินา ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ฟอลคอน ซึ่งรับหน้าที่แม่บ้านหัวเรือใหญ่จัดอาหารเลี้ยงรับรองราชอาคันตุกะต่างประเทศที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยามากมาย ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวทองกีบม้า (เพียนจาก ‘กิอูมาร์’) ตำแหน่งวิเศสกลาง ถือศักดินา 400 เป็นผู้กำกับการพนักงานของหวานในพระราชวัง
อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ชาวตะวันตกอีกผู้หนึ่งที่บันทึกการเดินทางเกี่ยวกับเรื่องของ ท้าวทองกีบม้าว่า”ข้าพเจ้าได้เห็นท่านผู้หญิงของฟอลคอนในปี พ.ศ.2262 เวลานี้ท่านได้รับเกียรติเป็นต้นห้องเครื่องหวานาของพระเจ้าแผ่นดิน ท่านเกิดในกรุงสยามในตระกุลอันมีเกียรติ และในเวลานั้นท่านเป็นที่ยกย่องนับถือแก่คนทั่วไป…
ท่านท้าวทองกีบม้าผู้นี้ เป็นต้นการสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวาน คือ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมผิง ขนมไข่เต่า ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง เป็นต้นเหตุเดิมที่ท้าวทองกีบม้าทำและสอนให้ชาวสยาม”
นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่มีการยอมรับวัฒธรรมขนมหวานจากชาวโปรตุเกส ซึ่งมักนิยมนำมาจัดเลี้ยงในงานพิธีมงคลต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาในครั้งกระนั้นสืบทอดมาถึงยุคปัจจุบันในทุกวั
นนี้


หมูชะมวง แสนอร่อยย

Template 01
Template 01
Template 01
      “หมูชะมวง”เมนูหมูชะมวง อาหารพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด เป็นอาหารที่ถือว่าขึ้นหน้า ขึ้นตา ของคนภาคตะวันออก ถ้ามีงานเลี้ยงใด เช่น งานบวช งานแต่ง หรือมีแขกต่างถิ่นไปร่วมงาน หมูชะมวงก็จะถูกบรรจุไว้เป็นเมนูอาหารประจำงานนั้นทุกครั้งไปซึ่งได้ทานอาหารเมนูนี้แล้ว เราควรรู้ถึงคุณค่าทางโภชนาการว่ามีอะไรบ้าง
 
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ
       แกงหมูชะมวง ก็เป็นแกงที่ ทางจังหวัดจันทบุรี และ ระยอง นิยมทำรับประทานกันมานานแล้ว เนื่องจากใบชะมวงเป็นพืชพื้นบ้านที่ซึ่งพบได้ทั่วไปในท้องถิ่นนั้น แล้วก็มีพบทางภาคใต้ด้วย สูตรที่เราทำตรงนี้ เป็นสูตรที่สถาบันโภชนาการพัฒนาขึ้นมา ให้กลุ่มแม่บ้านแม่บ้านเกษตรกรคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งสูตรนี้จะแตกต่างจากแกงชะมวงสูตรดั้งเดิมที่ชาวจันทบุรีเขาทำกัน เนื่องจากแกงชะมวงที่จันทบุรีจะหวานนำ และหวานจัดมากเลย ซึ่งจะไม่ค่อยเปรี้ยว เรานำมาปรับสูตรเพื่อที่จะให้มีความเปรี้ยวมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้สามารถใส่กระป๋องแล้วปลอดภัย วิธีปรับสูตรก็คือจะลดปริมาณเนื้อหมูลง แล้วก็เพิ่มใบชะมวงมากขึ้น
       ในเรื่องของการกระจายพลังงานที่มาจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน พบว่าแกงหมูชะมวงมีปริมาณไขมันประมาณร้อยละ 50 ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งสูงไป นักโภชนาการแนะนำว่าควรได้รับไขมันประมาณร้อยละ 30 แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเรารับประทานร่วมกับข้าวแล้ว การกระจายตัวของพลังงานที่มาจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ค่อนข้างดี เนื่องจากว่า ตามหลักโภชนาการที่นักโภชนาการแนะนำ ควรได้รับคาร์โบไฮเดรต 50-60 เปอร์เซ็นต์ เมนูนี้ ได้ 52 เปอร์เซนต์ ส่วนโปรตีนตามทฤษฎีนักโภชนาการแนะนำ คือ 15 เปอร์เซ็นต์ แต่แกงหมูชะมวงเมนูนี้ ให้ 15.7 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าดี ส่วนไขมัน ตามทฤษฎี นักโภชนาการแนะนำไม่เกิน 30 เปอร์เซนต์ เมนูนี้ได้ 32 เปอร์เซ็นต์ เกินไปเล้กน้อย คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของเมนูหมูชะมวงมีดังนี้
 
       สิ่งที่น่าเป็นห่วงของแกงชะมวงคือ โซเดียมสูง ก็คือเกลือสูงเกินไป เนื่องจากแกงมีรสจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด ก็เลยต้องเค็มจัดด้วย นั่นเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง ก็คือว่า ถ้าคนเป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรที่จะกินแกงนี้มากเกินไป สิ่งที่เป็นประโยชน์ของแกงชะมวงก็คือ ประโยชน์จากใบชะมวง เพราะใบชะมวงเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก ในเชิงของสารเชิงพันธภาพ ซึ่งช่วยทำให้ร่างกายได้รับสารไฟเบอร์หรือใยอาหาร ในขณะเดียวกันก็มีสารต้านอนุมูลอิสระจากใบชะมวงเอง
 
เครื่องแกงหมูชะมวง
วิธีทำเครื่องพริกแกงหมูชะมวง
- หอมแดงขนาดกลาง5หัว
- กระเทียมกลีบเล็กปอกเปลือก13กลีบ
- ข่าซอย1ช้อนตวง
- ตะไคร้ซอย1ช้อนตวง
- พริกแห้งซอย(เอาเม็ดออก)3เม็ดใหญ่
- กะปิ1ช้อนตวง
- เกลือ1ช้อนชา
  
เครื่องการหมักหมู
- หมูสันคอ14ชิ้น
- น้ำตาลปี๊บ2ช้อนตวง
- ซีอิ๊วดำช้อนตวง
- เกลือ2ช้อนชา
   
เครื่องปรุงหมูชะมวง
- หมูสันคอ (ที่ผ่านการหมักแล้ว)14ชิ้น
- ใบชะมวง73ใบ
- น้ำ1ถ้วยตวง
- น้ำมันพืช3ช้อนตวง
1.
นำพริกเม็ดใหญ่แห้งที่เตรียมไว้ผ่าแกะเอาเม็ดออก จากนั้นนำไปแช่น้ำจนนิ่ม แล้วยกขึ้นวางให้สะเด็ดน้ำ
2.จากนั้นนำพริกดังกล่าวพร้อม ข่าซอยละเอียด หัวหอมแดงขนาดกลาง ตะไคร้ซอย กระเทียม เกลือ มาโขลกจนแหลก
3.ใส่กะปิที่เตรียมไว้ลงไปโขลกจนเครื่องพริกแกงและกะปิเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน  แล้วจึงตักขึ้นใส่ถ้วยพักไว้
  
วิธีเตรียมเนื้อหมูหมัก
 นำเนื้อหมูที่หั่นเตรียมไว้มาหมัก โดยใส่น้ำตาลปี๊บ  ซีอิ๊วหวาน และเกลือ ตามปริมาณที่เตรียมไว้ แล้วทิ้งตั้งไว้
  
วิธีทำหมูชะมวง
1.นำกระทะตั้งไฟ  ใส่น้ำมันพืช เสร็จแล้วใส่เครื่องพริกแกงที่เตรียมไว้ลงไปผัด โดยใช้ไฟอ่อนๆ พอ
2.พอเริ่มได้กลิ่นหอมพริกแกง ก็ใส่ใบชะมวงที่เด็ดเตรียมไว้ลงไป ผัดจนใบชะมวงสุก (สังเกตได้จากใบชะมวงเปลี่ยนสี)
3.จากนั้นนำหมูที่หมักเตรียมไว้ใส่ลงไปผัดรวมกัน  แล้วจึงเติมน้ำเปล่าลงไป  พอน้ำเดือด จึงใส่เกลือและน้ำตาลปี๊บ เคี่ยวต่อไปประมาณ 20 นาที จนเนื้อหมูนุ่ม ก็ปิดเตาไฟ แล้วยกกระทะลง ตักใส่จานเสิร์ฟ รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ

หาดน่าเที่ยวว


หาดบานชื่น
หาดบานชื่น (หาดมะโร) ตั้งอยู่ก่อนถึงอำเภอคลองใหญ่ เส้นทางหลวงหมายเลข 318 ระหว่างกิโลเมตรที่ 59-60 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร เป็นหาดที่มีทรายเม็ดละเอียดน้ำใสสะอาด สามารถลงเล่นน้ำได้ มีบังกะโลให้เช่าบริเวณชายหาด

การเดินทางสู่หาดบานชื่น

การเดินทางสู่หาดบานชื่น ถนนสายหลักเพียงสายเดียวจากตัวเมืองตราดไปยังบ้านหาดเล็กซึ่งเป็นเขตสุดชายแดนไทยด้านตะวันออก ถนนสายนี้มีซอยแยกย่อยมากมายเป็นระยะๆ แต่ละซอยก็จะเป็นทางเข้าสู่ชุมชนที่อาศัยอยู่ติดชายหาด อย่างในกรณีหาดบานชื่นก็อยู่ตรงทางเข้าหมู่บ้านห้วงบอน ในระหว่างการเดินทางบนถนนสายนี้ต้องอาศัยอ่านป้ายข้างทาง เราจะเห็นป้ายที่เขียนว่าหาดบานชื่นอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งหมายถึงหาดอื่นๆ ด้วยก็เหมือนกัน ขับตามถนนสายนี้เข้าไปก็ต้องอ่านไปตามทางจะมี 4 แยกกับป้ายชี้ไปทางขวาสังเกตุป้อมเล็กๆ เป็นจุดตรวจของหมู่บ้าน 4 แยกนี้ต้องเลี้ยวขวาแล้วไปตามถนนลาดยางเล็กๆ ไปเรื่อยๆ จะเจอ 3 แยกโล่งๆ มีป้ายชี้ไปหาดบานชื่นทางขวามืออยู่ป้ายเดียวโดดเดี่ยวน่าดู


การเดินทางสู่หาดบานชื่น



การเดินทางสู่หาดบานชื่น หลังจากเลี้ยวขวาตามป้ายรูปบนแล้วขับไปอีกไม่ไกลก็จะมีทางแยกให้เลี้ยวซ้ายลงหาดบานชื่น ตรงทางแยกจะมีป้ายชื่อรีสอร์ท ได้แก่ ปาหนันรีสอร์ท บานชื่นรีสอร์ท เป็นต้น เลี้ยวตามทางเข้าไปก็จะถึงหาดบานชื่น มีซุ้มร้านค้า ป้อมยามหาดบานชื่นแล้วก็เป็นบริเวณหาดทราย สามารถหาที่จอดได้ตามสะดวก ป้ายข้อมูลท่องเที่ยวริมหาดบานชื่นทำเป็นรูปเรือใบลำเล็กๆ สีน้ำเงิน เหมือนกับป้ายข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ของจังหวัดตราด บริเวณนี้เต็มไปด้วยกระท่อมริมหาดหลังเล็กๆ สำหรับนั่งพักผ่อนและสั่งอาหารจากร้านมานั่งกินรับลมชมวิวแบบสบายๆ

เขาล้านบ้านเรา

       
เขาล้านบ้านเรา

            ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน จังหวัดตราด มีชื่อเรียกเดิมว่า "ศูนย์สภากาชาดไทย เขาล้าน" ตั้งอยู่ถนนตราด-คลองใหญ่ กิโลเมตรที่ 48 ริมทางหลวงหมายเลข 318 เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย ได้มีพระราชเสาวนีย์ให้สภากาชาดไทย จัดตั้งศูนย์รับผู้อพยพชาวกัมพูชาจำนวนนับแสนคน ณ บริเวณบ้านเขาล้าน ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ในโอกาสที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมผู้อพยพที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2522

 

 ในระยะแรก ผู้อพยพทำที่พักอาศัยอยู่ที่ใต้ต้นไม้โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่เป็นเครื่องบังแดดบังฝน ต่อมาได้สร้างเพิงชั่วคราวเพื่อใช้เป็นที่ทำการในการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพ รวมทั้งที่พักและหน่วยพยาบาล แล้วจึงได้มีการก่อสร้างอาคารถาวร ประกอบด้วยสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า โรงฝึกอบรม โรงเรียน และบ้านพักศูนย์สภากาชาดไทยแห่งนี้ได้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือชาวกัมพูชาอพยพอยู่ 7 ปีเศษ จึงได้ปิดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 และเมื่อปิดศูนย์ฯ ลง สภากาชาดไทยได้ขอให้กองทัพเรือส่งทหารเข้ามาดูแลพื้นที่ กองทัพเรือจึงได้จัดให้ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 3 เข้ามาอยู่ดูแลสถานที่ แต่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด

        เมื่อปี 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงมีพระราชดำริให้สภากาชาดไทย จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์สภากาชาดไทยแห่งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษาได้พระราชทานแนวทางการพัฒนาไว้ 3 ประการ คือ
1. จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่ชาวไทยชายแดน และชาวกัมพูชาอพยพ พระราชทานนามอาคารพิพิธภัณฑ์นี้ว่า "ศาลาราชการุณย์" สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 29เมษายน 2535สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่26พฤษภาคม 2537ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงความเป็นมาและสภาพความเป็นอยู่ของชาวกัมพูชาอพยพ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือของสภากาชาดไทยที่มีต่อผู้อพยพ รวมทั้งสิ่งของที่ผู้อพยพนำติดตัวมา
2. จัดเป็นสถานที่เข้าค่ายฝึกอบรมเยาวชนทั้งยุวกาชาด ลูกเสือ เนตรนารี นักเรียน นิสิต นักศึกษา ฯลฯ
3. ปรับปรุงพื้นที่ชายหาดให้เป็นสถานที่พักผ่อน สำหรับบุคคลทั่วไป


หลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูปแบบสุโขทัยปางมารวิชัย องค์พระพุทธรูปเดิมเป็นทองเหลืองเคลือบสีแดง จัดสร้างโดยพระวิสุทธิญาณเถระ (หลวงปู่สมชาย ฐิตฺวิริโย) วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี ตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงให้มีพระพุทธรูปไว้สักการะบูชา เพื่อยึดเหนี่ยวและเป็นที่พึ่งทางจิตใจ แก่ผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่หนีภัยสงครามเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เมื่อปี พ.ศ.2522และเป็นที่สักการะบูชาของชาวจังหวัดตราดและจังหวัดใกล้เคียง

สวนไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด 76จังหวัด ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 72พรรษา ในปี พ.ศ. 2542สภากาชาดไทย จัดทำโครงการพฤกษชาติบูชา พระบรมราชูปถัมภก 6 รอบ ปลูกต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด 76 จังหวัด รวม 972 ต้น ล้อมรอบรูปแผนที่ประเทศไทยในพื้นที่ประมาณ 16 ไร่เศษ

สวนสมุนไพรสมเด็จองค์อุปนายิกา ผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ปลูกต้นไม้และพืชสมุนไพร จัดเป็น 20 กลุ่มโรค ในพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการสำหรับเยาวชนและผู้สนใจทั่วไป

สถานที่พักผ่อนสำหรับประชาชนทั่วไป มีที่พักชนิดห้องเตียงคู่ จำนวน 30 ห้อง มีสิ่งอำนวยความสะดวก แต่ละห้องมีเครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์ เครื่องทำน้ำอุ่น ห้องน้ำในตัว และอาคารที่พักนอนรวมอีก 8 อาคารสามารถรองรับผู้เข้าพักได้ทั้งสิ้น รวม 209 เตียง มีสถานที่สำหรับประชุมสัมมนา จัดค่ายพักแรมของเยาวชนและสถานที่กางเต็นท์ โดยมีชุดควบคุมอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธินที่ 3 คอยดูแลความปลอดภัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสำรองที่พัก ได้ที่ โทร. 0-3952-1838, 0-3950-1015 โทรสาร.0-3952-1621

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง




อนุสรณ์สถานยุทธนาวีเกาะช้าง 

     อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง ตั้งอยู่ที่ถนนสุขาภิบาล 3 ตำบลแหลมงอบ ภายในบริเวณมีลักษณะเป็นอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์หันพระพักตร์ไปยังบริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง
และภายใต้อนุสาวรีย์ยังเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ ที่ออกแบบคล้ายเรือรบ เพื่อให้รำลึกถึงประวัติศาสตร์ของกรมกลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์กับประวัติศาสตร์การสู้รบของกองทัพเรือไทยกับกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส โดยจำลองภาพเหตุการณ์ของวันที่ 16-17 มกราคม พ.ศ. 2484 ซึ่งกองกำลังของฝรั่งเศสในอินโดจีนได้ส่งกำลังทางเรือเข้ามาทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออกของไทย พร้อมเครื่องบินลาดตระเวณทางอากาศ กองทัพเรือได้จัดกำลังทางเรือปกป้องน่านน้ำไทยและได้ปะทะกันอย่างองอาจกล้าหาญเรือรบหลวงธนบุรีได้ยิงต่อสู้จนเรือข้าศึกถอยไปทั้งๆที่ถูกยิงเสียหายอย่างหนักจนจมลงในที่สุด พร้อมการสูญเสียกำลังพลประจำเรือถึง 36 นาย
การรบที่เกาะช้าง หรือที่รู้จักกันในนาม ยุทธนาวีเกาะช้าง เป็นเหตุการณ์รบทางเรือที่เกิดขึ้นในกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ไทยเรียกร้องให้ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดนไทย-อินโดจีนฝรั่งเศสเสียใหม่ โดยใช้แนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักความยุติธรรม และให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ให้ไทย ยุทธภูมิในการรบครั้งนี้เกิดขึ้นที่บริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 และถือเป็นการรบทางทะเลครั้งเดียวในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย และรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อีกด้วย
ซึ่งทางกองทัพเรือได้จัดงานรำลึกวีรกรรมแห่งยุทธนาวีครั้งนั้น ในวันที่ 17-21 มกราคมของทุกปี


พิพิธภัณฑ์ อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง


   นอกจากนี้บริเวณอนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง ได้จัดให้เป็นสวนสำหรับพักผ่อน ไว้นั่งชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามติดกับทะเล มองเห็นหมู่เกาะต่างๆโดยเฉพาะเกาะช้างได้












งอบใบจาก น้ำเชี่ยว




งอบใบจาก
งอบใบจาก

งอบใบจาก



งอบ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง เครื่องสวมหัวสำหรับกันแดดและฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ กรุด้านในใบลาน รูปคล้ายกระจาดคว่ำ มีรังสำหรับสวม
งอบใบจาก
งอบใบจาก เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดมากว่าร้อยปี นิยมทำกันตาม ชนบทแทบทุกหมู่บ้าน จุดมุ่งหมายเดิม คนในท้องถิ่นจะทำไว้ใช้กันแดด กันฝน ใช้ในครอบครัว โดยเฉพาะชาวนา ชาวสวน ต่อมาได้กลายเป็นอาชีพของบางหมู่บ้าน เป็นงานหัตถกรรมของสมาชิกในบ้านที่ว่างงาน เพื่อนำออกจำหน่ายให้แก่คนท้องถิ่น ในจังหวัดตราด และนักท่องเที่ยว
ปัจจุบันหมู่บ้านที่ได้รับการส่งเสริมการทำงอบเป็นอาชีพพื้นบ้าน คือ หมู่บ้านน้ำเชี่ยว ตำบลน้ำเชี่ยว ภำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ทำได้หลายรูปแบบตามชื่อ เช่น ทรงปลาดาว ทรงเห็ด ทรงนเรศวร ทรงกะทะ ฯลฯ
งอบใบจาก
วัสดุที่ใช้
1. ใบจากขนาดใบพองามไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
2. เชือก ขนาดพอเหมาะที่ใช้สำหรับทำขอบ
3. เข็ม ขนาดพอสมควร
4. ตอกไม้ไผ่เหลาเป็นเส้นเล็ก ๆ ทำเป็นขอบหมวก
5. ด้าย ขนาดพอเหมาะกับเข็ม
งอบใบจาก
วิธีการทำงอบใบจาก ใช้ใบจากประมาณ 25-30 ใบ มาเรียงซ้อนกัน เย็บตรงกลาง แล้วหันให้เป็นวงกลมใช้เชือกมัดไว้ตรงกลาง เย็บเป็นวงกลม โดยมีเชือกตรงกลาง เป็นศูนย์กลาง เมื่อเย็บจนครบตามที่ต้องการแล้ว ก็ตัดเป็นรูปทรงที่ต้องการ และเข้าขอบ เพื่อให้งอบแข็งแรง โดยใช้ไม้ไผ่เส้นเล็ก ๆ หลายเส้นมาประกบที่ขอบหมวกทั้งด้าน นอกและด้านใน และใช้เชือกเย็บมัดให้แน่นนำหมวกที่ทำเสร็จแล้วไปตากแดดให้แห้ง นำมาทาด้วยน้ำมันยาง น้ำมันสน หรือแซลแลตตามความต้องการ เวลาจะใช้นำเอารัง (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เสวียน) ซึ่งสานเป็นรูปทรงกลมยาวขนาดศีรษะ ใส่ด้านใน ใช้ไม้ไผ่เหลาให้เรียบร้อย ขัดกับตัวงอบกันหลุด
การประยุกต์ใช้ ปัจจุบันจังหวัดตราดเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย จึงมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก ผู้สวมหมวกใบจากจึงพัฒนารูปแบบทรงหลาย ๆ รูปทรง มีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ตามความต้องการของตลาด และได้นำมาประยุกต์ใช้ คุมกันแดด ของนักท่องเที่ยว ใช้ประกอบการแสดง ใช้ตกแต่งบ้านและสถานที่ต่าง ๆ ให้เป็นของที่ระลึกสำหรับเพื่อนฝูง











วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

ตับรับ อาหารไทย



มัสมั่นไก่


"มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่า รสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ ใฝ่ฝันหา " มาเป็นกลอนกันเลยทีเดียว วันนี้เอาสูตรแกงมัสมั่นไก่มาฝากกันค่ะ แกงชนิดนี้รสชาติเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายคน เพราะมีทั้ง รสเผ็ด หวาน และหอมมันจากกะทิ แกงมัสมั่น เป็นแกงอีกชนิดหนึ่งที่บอกเล่าความพิถีพิถันของอาหารไทยได้ดี ที่จะต้องใส่ใจตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบที่ดีมาทำเป็นพริกแกง จากนั้นก็พิถีพิถันในการปรุงจนได้แกง

ส่วนผสมและสัดส่วน
พริกแกงมัสมั่น

1. พริกแห้งเม็ดใหญ่แช่น้ำไว้ 5-8 เม็ด
2. พริกขี้หนูแห้ง 5 เม็ด
3. รากผักชีหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
4. ลูกผักชีคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
5. ยี่หร่าคั่ว1 ช้อนชา
6. ลูกกะวานคั่ว 1 ผล
8. อบเชยคั่ว 1 ก้าน
9. ข่าซอย 1 ช้อนชา
10. ตะไคร้ 2 ช้อนโต๊ะ
11. กระเทียมเผา 2 ½ ช้อนโต๊ะ
12. หอมแดงเผา 2 ช้อนโต๊ะ
13. พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา
14. กะปิ 2 ช้อนชา
15.เ กลือ ¾ ช้อนชา

แกงมัสมั่นไก่

1. น่องไก่ หรืออกไก่ ½ กิโลกรัม
2. พริกแกงมัสมั่นไก่ 200 กรัม (ถ้าชอบเผ็ดมากเพิ่มได้ค่ะ)
3. มันฝรั่งล้างและต้มให้สุกหั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ 4-5 หัว
4. หอมใหญ่ 3 หัว
5. ถั่วลิสงคั่ว ¼ ถ้วย
6. น้ำปลาอย่างดี ¼ ถ้วย
7.น้ำตาลปี๊บ ½ ถ้วย
8. น้ำมะขามเปียก ¼ ถ้วย
9. หัวกะทิ 1 ถ้วย
10. หางกะทิ 4-5 ถ้วย

วิธีปรุง
1.เคี่ยวหัวกะทิจนแตกมันใส่พริกแกงมัสมั่นลงไปผัดให้หอม ใส่น่องไก่ลงไปผัดจนสุก
2.เติมหางกะทิลงไป เคี่ยวจนเนื้อไก่เปื่อยด้วยไฟเบา
3.ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลปี๊บและน้ำมะขามเปียก จากนั้นใส่หัวหอมและมันฝรั่งลงไป รอจนเดือดอีกครั้งโรยถั่วลิสงคั่วลงไป ปิดไฟตักใส่ชามทานร้อนๆกับข้าว หรือทานกับโรตีก็อร่อยไปอีกแบบค่ะ
เคล็ดลับน่ารู้
มัสมั่น...แกงแก้วตา หอมยี่หร่า รสร้อนแรง...

หลายคนอาจจะเคยท่องกาพย์บทนี้กันจนจำได้ แล้วรู้หรือไม่คะว่า แกงมัสมั่นแท้จริงแล้วมีที่มาจากไหน
จริงๆแล้วแกงมัสมั่นได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของชาวมลายู ชาวไทยทางภาคใต้หรือผู้ที่เป็นมุสลิมจะเรียกแกงชนิดนี้ว่า “ซาละหมั่น” ซึ่งรสชาติแบบดั้งเดิมนั้นจะออกเค็มและมัน และคนไทยนำมาปรับเปลี่ยนสูตรให้ถูกปากตัวเองมากขึ้น กลายเป็นรสชาติออกไปทางหวานนำ

แกงมัสมั่นทางภาคใต้นั้นไม่ได้ทำจากเครื่องแกงอย่างในภาคกลาง แต่จะใช้ การผสมเครื่องเทศต่างๆทั้งลูกผักชี ยี่หร่า พริกอินเดียและพริกไทย ป่นผสมเข้าด้วยกันเป็นผงเครื่องเทศสำหรับมัสมั่น แล้วนำไปผัดกับน้ำมันหอมเจียว

แต่สูตรแกงมัสมั่นแบบมลายูดั้งเดิมนั้น จะใส่กานพลู อบเชย ลงไปผัดกับน้ำมันและหอมแดงจนหอม แล้วใส่พริกอินเดีย ยี่หร่า พริกไทย ลงผัดให้เข้ากัน แล้วยังมีส่วนผสมของมะพร้าวคั่ว ผงขมิ้น ดอกไม้จีน และหน่อไม้จีนด้วย

และเมื่อไม่นานมานี้เว็บไซต์ CNNGO ได้จัดอันดับ 50 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก โดยการลงคะแนนเสียงทางเฟซบุค ปรากฏว่า แกงมัสมั่นได้รับเลือกให้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก

อ้างอิง : th.wikipedia.org