วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

น้ำเชี่ยวบ้านเรา

น้ำเชี่ยวบ้านเรา

 

ประวัติความเป็นมา 

     กลุ่มชาวไทยมุสลิม  ครั้งแรกมาอยู่ที่ตำบลน้ำเชี่ยวแห่งเดียว ตามที่ พระบริหารเทพธานีสันนิษฐานไว้ว่า “ชนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสงครามกับญวนในประเทศเขมร ตรงกับรัชกาลที่ 3 มีการเรียนภาษาเขียนที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการสร้างสุเหร่าหรือมัสยิดครั้งแรกที่บ้านน้ำเชี่ยว โดยใช้ ไม้โกงกางมาปักเป็นเขต 4 ต้น หลังคามุงด้วยใบปรง นำมาสานเป็นตับเหมือนตับจากมุงกันแดด กันฝน ต่อมาเมื่อชาวมุสลิมตั้งหลักแหล่งแน่นอนแล้ว ได้ต่อเติมสุเหร่าให้มีสภาพดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน โดยมิได้เคลื่อนย้ายจากที่ตั้งเดิมแต่อย่างใด” ซึ่งสุเหร่าแห่งนี้ ปัจจุบันมีชื่อว่า “มัสยิดอัลกุบรอ” ตั้งอยู่ริม คลองน้ำเชี่ยว
                                  
เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด
เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทยเชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร    มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้   ซึ่งพี่น้องทั้งสองศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา
ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมงพื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบัน
ชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย ปัจจุบันมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,368 คน 1,199 ครัวเรือน


 ลักษณะทั่วไป และระบบนิเวศ 

ลักษณะภูมิประเทศ
บ้านน้ำเชี่ยว มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลอง
ขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิดอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด
ทิศเหนือ ติดกับ อบต.หนองโสน อ.เมืองตราด
ทิศใต้ ติดกับ อ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.หนองโสน อ.เมืองตราด
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.คลองใหญ่ และ อบต.แหลมงอบ
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ช่วงฤดูฝนยาวนาน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ฝนแปด แดดสี่

 วัฒนธรรมประเพณี 
1. การแข่งขันเรือพาย เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ในอดีตจะใช้ถังข้าวหมกไก่แทนเรือ ซึ่งจะทำการแข่งขันทุกปีหลังวันเห็นเดือนของชาวมุสลิม ซึ่งจะเป็นช่วงที่น้ำขึ้นเต็มฝั่ง  จัดขึ้นที่คลองน้ำเชี่ยว โดยมีเอกลักษณ์ คือ การพายเรือด้วยลำไม้ไผ่ โดยทีมใดพายเรือไปหยิบธงที่ปักอยู่ที่เส้นชัยได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ การแข่งขันเรือพายจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีของคนภายในหมู่บ้าน และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างหมู่บ้าน/ชุมชนข้างเคียง
2. การแข่งขันตกปลาประจำปี เทศกาลเปิดฤดูตกปลาทะเลตราด จัดขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี โดยความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคกลาง เขต 5 ตราด และชมรมเรือท่องเที่ยวตำบลน้ำเชี่ยว เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล และส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่เกาะช้างของจังหวัดตราด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำเชี่ยวบ้านเรา

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น